- Back to Home »
- ต้นหูกวาง
Posted by : FreezyXD
January 11, 2018
ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด
ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์ (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ต้นหูกวางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งเป็นชั้นๆในแนวราบ เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปพีระมิดหนาทึบ เปลือกต้นมีสีเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ
ใบ
ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนแเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะออกสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตกเรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ขอบใบเรียบ ผลัดใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนแเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะออกสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตกเรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ขอบใบเรียบ ผลัดใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
ดอก
ดอกต้นหูกวางจะออกเป็นช่อบริเวณซอกใบหรือบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล ขนาดเล็ก ประกอบด้วยโคนกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกมีรูปเป็นแท่งยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะอยู่ปลายช่อ โดยมีดอกสมบูรณ์เพศบริเวณโคนช่อ การออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสิงหาคม-ตุลาคม
ดอกต้นหูกวางจะออกเป็นช่อบริเวณซอกใบหรือบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล ขนาดเล็ก ประกอบด้วยโคนกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกมีรูปเป็นแท่งยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะอยู่ปลายช่อ โดยมีดอกสมบูรณ์เพศบริเวณโคนช่อ การออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสิงหาคม-ตุลาคม
ผล
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อม และแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเปลือกผลสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ และเมื่อเนื้อเปลือกหลุดออกหรือย่อยสลายจะเห็นเป็นเส้นใยกระจุกตัวแน่นทั่วผล ผล 1 ผล จะประกอบด้วยเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไข่เรียวยาว คล้ายอัลมอนด์ สามารถรับประทานได้ ให้รสหอม
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อม และแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเปลือกผลสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ และเมื่อเนื้อเปลือกหลุดออกหรือย่อยสลายจะเห็นเป็นเส้นใยกระจุกตัวแน่นทั่วผล ผล 1 ผล จะประกอบด้วยเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไข่เรียวยาว คล้ายอัลมอนด์ สามารถรับประทานได้ ให้รสหอม
ประโยชน์ต้นหูกวาง
– ปลูกเป็นไม้ประดับ จากใบหูกวางที่แตกใหม่มีลักษณะใบใหญ่ สีเขียวอ่อน แลดูสวยงาม และสดชื่น จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อวัตถุประสงค์เป็นไม้ประดับนอกเหนือจากการให้ร่มเงา
– เนื่องจากเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ประกอบด้วยใบขนาดใหญ่ และมีใบมาก ทำให้เกิดร่มเงาสร้างความร่มรื่นได้เป็นอย่างดี
– เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับก่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี อุปกรณ์จับสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ เนื้อไม้ที่ได้จากต้นหูกวางที่มีอายุมากจะมีสีแดงหรือน้ำตาลออกดำบริเวณแก่นต้น
– กิ่ง และเนื้อไม้ขนาดเล็กนำมาเป็นฟืนให้ความร้อนในการประกอบอาหาร
– ใบนำบดหรือต้มทำสีย้อมผ้า ซึ่งจะให้ทั้งสีเขียวในใบอ่อน และสีเหลืองในใบแก่ รวมถึงราก และผลดิบก็ใช้ในการฟอกย้อมหนัง การผลิตสีดำ และผลิตหมึกสี
– ใบหูกวางนิยมนำมาแช่น้ำสำหรับเลี้ยงปลากัด เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี มีการเจริญพันธุ์ และเจริญเติบโตดี ไม่เกิดโรค ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลา และช่วยให้ปลากัดมีสีสันสวยงาม สีเข้มสดใส นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
– เมล็ดสามารถรับประทานได้ทั้งดิบหรือนำมาต้มสุกหรือเผา
– เมล็ดสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันที่มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายนํ้ามันจากอัลมอนด์ ใช้รับประทาน ใช้บำรุงผม ใช้นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงใช้ในด้านความสวยความงาม
– ปลูกเป็นไม้ประดับ จากใบหูกวางที่แตกใหม่มีลักษณะใบใหญ่ สีเขียวอ่อน แลดูสวยงาม และสดชื่น จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อวัตถุประสงค์เป็นไม้ประดับนอกเหนือจากการให้ร่มเงา
– เนื่องจากเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ประกอบด้วยใบขนาดใหญ่ และมีใบมาก ทำให้เกิดร่มเงาสร้างความร่มรื่นได้เป็นอย่างดี
– เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับก่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี อุปกรณ์จับสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ เนื้อไม้ที่ได้จากต้นหูกวางที่มีอายุมากจะมีสีแดงหรือน้ำตาลออกดำบริเวณแก่นต้น
– กิ่ง และเนื้อไม้ขนาดเล็กนำมาเป็นฟืนให้ความร้อนในการประกอบอาหาร
– ใบนำบดหรือต้มทำสีย้อมผ้า ซึ่งจะให้ทั้งสีเขียวในใบอ่อน และสีเหลืองในใบแก่ รวมถึงราก และผลดิบก็ใช้ในการฟอกย้อมหนัง การผลิตสีดำ และผลิตหมึกสี
– ใบหูกวางนิยมนำมาแช่น้ำสำหรับเลี้ยงปลากัด เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี มีการเจริญพันธุ์ และเจริญเติบโตดี ไม่เกิดโรค ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลา และช่วยให้ปลากัดมีสีสันสวยงาม สีเข้มสดใส นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
– เมล็ดสามารถรับประทานได้ทั้งดิบหรือนำมาต้มสุกหรือเผา
– เมล็ดสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันที่มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายนํ้ามันจากอัลมอนด์ ใช้รับประทาน ใช้บำรุงผม ใช้นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงใช้ในด้านความสวยความงาม
แหล่งที่มา : หูกวาง