ได้รับความนิยม

ต้นมะม่วง

By : FreezyXD


มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นในสกุล ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโกเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ

สายพันธ์

เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เปลือกหนา เหนียว ผลแก่รสมัน 

น้ำดอกไม้ เป็นพันธุ์ที่กินผลสุก รูปร่างยาวเรียว ผลดิบเนื้อขาว รสเปรี้ยวจัด ผลสุกสีเหลืองนวล รสหวาน

อกร่องทอง เป็นพันธุ์เก่าแก่ นิยมรับประทานกับข้าวเหนียวมูน ผลค่อนข้างเล็ก มีร่องเป็นแนวยาวที่ด้านท้อง ผลสุก เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อย

ฟ้าลั่น ผลกลม ท้ายแหลม ลูกขนาดกลาง นิยมรับประทานผลแก่ มีรสมัน เมื่อปอกเปลือก เนื้อมะม่วงจะปริแตก
หนังกลางวัน ผลยาวคล้ายงาช้าง แก่จัดรสมันอมเปรี้ยว สุกรสหวาน

แก้ว นิยมกินดิบ ผลอ้วนป้อม เปลือกเหนียว เมื่อเกือบสุกเปลือกจะมีสีอมส้มหรืออมแดง

โชคอนันต์ รูปร่างยาว ปลายมน กลายพันธุ์มาจากมะม่วงป่า นิยมนำไปทำมะม่วงดอง

มหาชนก เป็นลูกผสมของมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันกับพันธุ์ซันเซ็ตจากอินเดีย ผลยาวรี สุกสีเหลืองเข้ม มีริ้วสีแดง เนื้อไม่เละ กลิ่นหอม จะสุกในช่วงที่มะม่วงพันธุ์อื่นวายแล้ว

อันดับ:
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Sapindales
Mangifera indica
วงศ์:Anacardiaceae
สกุล:Mangifera
สปีชีส์:M.  indica

แหล่งที่มา : มะม่วง

ต้นเข็ม

By : FreezyXD
        

 ต้นเข็ม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่นิยมปลูกเพื่อประดับรั้วบ้าน อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่เปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์แห่งพิธีไหว้ครูอีกด้วย ด้วยลักษณะดอกที่แหลมเล็ก สีสันสดใสทั้งสีแดง ชมพู หรือสีส้ม พร้อมกับความหมายดี ๆ ที่เป็นมงคล วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลของต้นเข็ม มาฝากให้ได้ศึกษาและทำความรู้จักกับต้นเข็มให้มากขึ้นกันค่ะ

ลักษณะทั่วไปของต้นเข็ม
          ต้นเข็ม เป็นไม้พุ่ม มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร ลักษณะของกิ่งเป็นกิ่งเดี่ยว แตกกอแผ่ขยายออก และมักจะแตกกิ่งบนยอดต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเช่นกัน แต่ลักษณะใบจะแข็งเปราะ ปลายใบแหลม มีสีเขียวสด มักจะขึ้นแซมรอบต้น ส่วนดอกเข็มจะแหลมเล็ก รวมกลุ่มกันเป็นพุ่ม มักจะมีก้านดอกหุ้มปกป้องดอกเข็มไว้ ส่วนสีและขนาดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ของต้นเข็ม

ความหมายของต้นเข็ม
          ดอกเข็ม ยังจัดว่าเป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของโบราณจะถือว่า ดอกเข็มที่แหลมเรียว ก็เปรียบเสมือนปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็มจึงถูกยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู และมักจะถูกนำไปบูชาพระ และใช้ประดับแจกัน ตามงานพิธีกรรมต่าง ๆ


แหล่งที่มา : เข็ม

ต้นไผ่

By : FreezyXD

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้าวงศ์ย่อย เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่ไร่ ไผ่ดำ
ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
อาณาจักร:Plantae
หมวด:Magnoliophyta
ชั้น:Liliopsida
อันดับ:Poales
วงศ์:Poaceae
วงศ์ย่อย:Bambusoideae
เผ่าใหญ่:Bambusodae
เผ่า:Bambuseae
Kunth ex Dumort.

แหล่งที่มา : ไผ่

ต้นข่อย

By : FreezyXD

ชื่อสมุนไพร
ข่อย
ชื่ออื่นๆ
กักไม้ฝอย ส้มพอ ส้มพล ส้มฝ่อ ซะโยเส่ สะนาย ตองขะแหน่ ขรอย ขันตา
ชื่อวิทยาศาสตร์
Streblus asper Lour.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Moraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 5-10 เมตร เปลือกสีเทาอมเขียว เปลือกในสีขาวหนา ผิวเรียบบาง มักมีขนอยู่โดยทั่วไป มียางขาวข้น แตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมและมีติ่งแหลมสั้น โคนสอบแคบ ผิวใบทั้งด้านบนและด้านล่างหนามากและสากคายเหมือนกระดาษทราย ขอบใบหยักฟันเลื่อย ก้านใบสั้นมาก ยาว 1-3 มิลลิเมตร หูใบรูปหอก ยาว 2-5 มิลลิเมตร มีขนราบ หลุดร่วงง่าย เส้นใบที่โคนมี 1 คู่ สั้น ไม่มีต่อม ดอก สีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้เป็นกระจุกกลม มี 5-15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 6-10 มิลลิเมตร ก้านช่อดอกยาว 3-15 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย หรือเกลี้ยง มีใบประดับเล็กๆ 1-2 ใบ ที่โคนก้านใบ บางครั้งพบมีอีก 1 ใบ บนก้าน และมีใบประดับเล็กๆ อีก 2-3 ใบ ที่ปลายก้าน ดอกเพศผู้มีก้านสั้น กลิ่นหอม มีส่วนต่างๆจำนวน 4 วงกลีบรวม ยาว 1 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย เกสรเพศผู้สีขาว ดอกเพศเมียออกเดี่ยว มีก้านยาว กลีบดอกสีเขียวปนเหลือง  มีก้านดอกเล็ก ยาว 1-4 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อย ใบประดับมี 2 ใบ รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 1-2 มิลลิเมตร แนบไปกับวงกลีบรวม วงกลีบรวมยาว 2 มิลลิเมตร รูปไข่แหลม มีขนเล็กน้อย ก้านเกสรเพศเมียยาว 1 มิลลิเมตร และยาวขึ้นถึง 6-12 มิลลิเมตร เกลี้ยง ผล สด รูปกลม หรือรูปไข่  ขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียว ผลแก่สีเหลืองหรือส้ม ฉ่ำน้ำ เมื่อแรกรวมอยู่กับวงกลีบรวมที่ใหญ่ขึ้น ยาว 5-8 มิลลิเมตร ต่อไปเมื่อแก่จะโผล่จากวงกลีบรวม และวงกลีบรวมจะงอพับ มีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้ม ปลายผลมีก้านเกสรตัวเมียคล้ายเส้นด้ายติดอยู่ ก้านผลยาว 7-27 มิลลิเมตร เมล็ดกลม กว้าง 4-5 มิลลิเมตร สีขาวแกมเทา พบตามที่ลุ่ม ป่าเบญจพรรณทั่วไป และป่าละเมาะ ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เส้นใยใช้ทำกระดาษข่อย

แหล่งที่มา : ข่อย

ต้นหูกวาง

By : FreezyXD





ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด

ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
ต้นหูกวางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งเป็นชั้นๆในแนวราบ เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปพีระมิดหนาทึบ เปลือกต้นมีสีเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ



ใบ
ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนแเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะออกสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตกเรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ขอบใบเรียบ ผลัดใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
ดอก
ดอกต้นหูกวางจะออกเป็นช่อบริเวณซอกใบหรือบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล ขนาดเล็ก ประกอบด้วยโคนกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกมีรูปเป็นแท่งยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะอยู่ปลายช่อ โดยมีดอกสมบูรณ์เพศบริเวณโคนช่อ การออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และสิงหาคม-ตุลาคม
ผล
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อม และแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเปลือกผลสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ และเมื่อเนื้อเปลือกหลุดออกหรือย่อยสลายจะเห็นเป็นเส้นใยกระจุกตัวแน่นทั่วผล ผล 1 ผล จะประกอบด้วยเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไข่เรียวยาว คล้ายอัลมอนด์ สามารถรับประทานได้ ให้รสหอม
ประโยชน์ต้นหูกวาง
– ปลูกเป็นไม้ประดับ จากใบหูกวางที่แตกใหม่มีลักษณะใบใหญ่ สีเขียวอ่อน แลดูสวยงาม และสดชื่น จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อวัตถุประสงค์เป็นไม้ประดับนอกเหนือจากการให้ร่มเงา
– เนื่องจากเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ประกอบด้วยใบขนาดใหญ่ และมีใบมาก ทำให้เกิดร่มเงาสร้างความร่มรื่นได้เป็นอย่างดี
– เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับก่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี อุปกรณ์จับสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ เนื้อไม้ที่ได้จากต้นหูกวางที่มีอายุมากจะมีสีแดงหรือน้ำตาลออกดำบริเวณแก่นต้น
– กิ่ง และเนื้อไม้ขนาดเล็กนำมาเป็นฟืนให้ความร้อนในการประกอบอาหาร
– ใบนำบดหรือต้มทำสีย้อมผ้า ซึ่งจะให้ทั้งสีเขียวในใบอ่อน และสีเหลืองในใบแก่ รวมถึงราก และผลดิบก็ใช้ในการฟอกย้อมหนัง การผลิตสีดำ และผลิตหมึกสี
– ใบหูกวางนิยมนำมาแช่น้ำสำหรับเลี้ยงปลากัด เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี มีการเจริญพันธุ์ และเจริญเติบโตดี ไม่เกิดโรค ยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลา และช่วยให้ปลากัดมีสีสันสวยงาม สีเข้มสดใส นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
– เมล็ดสามารถรับประทานได้ทั้งดิบหรือนำมาต้มสุกหรือเผา
– เมล็ดสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันที่มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายนํ้ามันจากอัลมอนด์ ใช้รับประทาน ใช้บำรุงผม ใช้นวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงใช้ในด้านความสวยความงาม
แหล่งที่มา : หูกวาง

ชมพูพันธ์ทิพย์

By : FreezyXD


ชื่อที่เรียก : ชมพูพันธุ์ทิพย์ชื่ออื่น ๆ : ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู ชื่อสามัญ : Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecomaชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea (Bertol.) DC. 
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง สูงราว 8-12 เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง
ต้นกำเนิด ของชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อน
ทวีปต่าง ๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย

ประโยชน์ : ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก 
ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได
ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร


แหล่งที่มา : ชมพูพันธ์ทิพย์

อโศกอินเดีย

By : FreezyXD


อโศกอินเดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyalthia longifolia (Benth.) Hook. f. var. pandurata
ชื่อวงศ์ ANNONACEAE
ชื่ออื่น โสกอินเดีย อโศกเซนต์คาเบรียล
ถิ่นกำเนิด อินเดีย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 1-2 ม.ไม่ผลัดใบรูปทรงแคบสูง รูปพีระมิด กิ่งก้านลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีขีดแคบยาวและรอยด่างสีขาวทั่วทั้งลำต้น
ดอก สีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่กิ่งแก่ ช่อดอกห้อย ดอกย่อยขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 ซม. ก้านดอกยาว 2-3 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 6 กลีบ รูปใบหอก ปลายแหลมบิดโค้ง ขอบเป็นคลื่น กลีบเรียงสลับกัน 2 ชั้น กลีบชั้นนอกแคบและสั้นกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกดอก เดือน ม.ค.-มี.ค.

ผล ผลสดแบบผลกลุ่ม รูปไข่กลับ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 2-2.5 ซม. สีเขียว เรียงอยู่บนแกนตุ้มกลม 5-12 ผล เมื่อสุกสีดำ เมล็ดมีเนื้อเยื่อห่อหุ้มบางๆ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ดต่อผล ติดผลเดือนก.พ.-มิ.ย. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

นิเวศวิทยา พบปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป

การใช้ประโยชน์ ดอกมีกลิ่นอ่อน ปลูกเป็นไม้ประดับและเป็นร่มเงา เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่แคบ ช่วยบังลม บังสายตาหรือปลูกเป็น แนวขอบเขตพื้นที่ ควบคุมความสูงได้ตามต้องการด้วยการตัดยอด

หมายเหตุ ต้นไม้ที่คล้ายกัน คือ อโศกพม่า (Polyalthia longifolia (Benth.) Hook, f.) แต่อโศกพม่า แตกกิ่งตั้งขึ้นทำมุมประมาณ 45 องศา กับลำต้น ทรงพุ่มกว้าง

ตะโกดัด

By : FreezyXD



ตะโก เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ทำไม้ดัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นไม้พื้นเมืองที่พบตามป่าธรรมชาติทั่วประเทศ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ง่ายต่อการปลูกเลี้ยง บำรุงรักษา จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นไม้ดัด

ชื่อสามัญ Ebony

ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyios rhodcalyx. 

วงศ์ EBENACEAE 

ชื่ออื่น ตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ

ลักษณะทั่วไป

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไป สูงประมาณ 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่ หรือรูปป้อมๆ โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้า หรือหยักคอดเป็นติ่งสั้นๆ ผิวเกลี้ยงเขียวสด ใบดกและหนาทึบ ดอกจะออกตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1–3 มม. มีขนนุ่ม ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ ละประมาณ 3 ดอก ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวๆ ผลกลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมาก รสฝาด นิยมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

บอนไซต่างประเทศ บอนไซที่สั่งมาจากต่างประเทศนั้น ก็ไม่ต่างจากต้นไม้ที่ขุดจากป่ามากนัก เนื่องจากก่อนการนำเข้าประเทศ ส่วนมากมักจะถูกล้างรากก่อน แล้วห่อหุ้มรากด้วยมอสส์แห้งหรือสาหร่ายแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม (ต้นไม้ทุกชนิดไม่ชอบให้รากฝอยอยู่ในอากาศ หรือหุ้มด้วยมอสส์โดยปราศจากดิน) ถึงจะนำเข้าประเทศได้ ข้อดีก็คือ ต้นไม้ถูกเลี้ยงอยู่ในกระถางบอนไซอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นระบบรากของต้นไม้จะสมบูรณ์ และพร้อมที่จะเจริญเติบโตต่อไปถ้าหากได้รับการปลูกลงในกระถางอย่างดี ดินผสมที่ถูกต้อง ปัญหาใหม่มักจะขึ้นกับดินฟ้าอากาศเสียเป็นส่วนมาก ไม้แคระบางพันธุ์เป็นต้นไม้ที่ชอบขึ้นในเมืองหนาวโดยเฉพาะ เช่น สนจูปิเตอร์ ( Juniperus chinensis) สนดำ ( Pinus thunbergil) สนเข็มห้าใบ  Pinus parviflora)  ควินส์  (Chaenomeles sinesis) เมเปิล  (Acer paimatum)  อาซาเลีย  (Rhododendron indicum) ฯลฯ เป็นต้น ต้นไม้เหล่านี้เมื่อปลูกเลี้ยงในที่ๆอากาศเปลี่ยนแปลงมักจะอ่อนแอ มีความต้านทานโรคน้อย ในการปลูกเลี้ยงจะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดียิ่งเท่านั้น ไม้แคระเหล่านี้จึงจะรอดอยู่ได้



แหล่งที่มา : ตะโกดัด

ต้นไทร

By : FreezyXD


ต้นไทร เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาด กลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามพันธุ์

ความเชื่อเกี่ยวกับไทร

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะคนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ์ร่มไทร ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวัตตกผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคารเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

ลักษณะวิสัย

ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 เมตร มีรากอากาศ น้ำยางขาว

ลักษณะใบ

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปไข่แกมวงรี

ลักษณะดอก

ดอกช่อ เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปร่างกลมคล้ายผล ออกเป็นคู่ที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน

สรรพคุณ

ตำรายาไทยใช้ รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

การปลูก

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับ บริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก


2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 1- 2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะ


การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและ เพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง 2 วิธี ดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์ ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

ดอกพุด

By : FreezyXD


ชื่อสามัญ                 Cape jasmine, Gardenia jasmine

ชื่อวิทยาศาสตร์       Gardenia augusta (L.) Merr.

ตระกูล                    RUBIACEAE

     ต้นพุด เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวลำต้นมีสีขาวเทา แตกกิ่งก้านออกใบรอบต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ออกตามข้อของกิ่ง ลักษณะของใบเป็น รูปมนรี ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายยอดหรือปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5-6 ดอก ซึ่งแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอก มีกลิ่นหอมสีขาว กลีบดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ หรือเรียงเป็นชั้นเดียวแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกบานมีความโตประมาณ 2-5 เซนติเมตร ออกผลเป็นฝัก รูปกระบอก แหลมโค้ง ภายในมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด เพราะดอกพุดมีสีขาวสดใส

แหล่งที่มา : ดอกพุด

ดอกเฟื่องฟ้า

By : FreezyXD


เฟื่องฟ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Bougainvillea   spp.
วงศ์ :  NYCTAGINACEAE
ชื่อสามัญ : Paper Flower  
ชื่ออื่น : ตรุษจีน  ดอกกระดาษ 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
 :   เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อยอายุยืนหลายสิบปี ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกสลับกับกิ่งหรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2.5 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ ผู้พบเห็นทั่วไปมักเข้าใจว่าใบประดับคือดอก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม. ติดอยู่ที่เส้นกลางใบของใบประดับ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าดอกคือเกสรดอก ดอกเป็นชนิดไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5-10 อัน การปลูกเลี้ยงในประเทศไทยมักจะเกิดการกลายพันธุ์ โดยเนื้อเยื่อบริเวณตามีการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลทำให้ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไป เช่น สีของใบประดับเปลี่ยนไป กลายพันธุ์เป็นใบประดับซ้อน กลายพันธุ์เป็นใบด่าง กลายพันธุ์เป็นดอกกระจุก เป็นต้น
นิเวศวิทยา :    มีถิ่นกำเนิดทวีปอเมริกาใต้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง  เสียบยอด
ประโยชน์ :  ปลูกเป็นไม้ประดับ มีหลากหลายพันธุ์ หลายสี 
** ประวัติฟื่องฟ้า : เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราวปี คศ.1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่างๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซีย สำหรับในประเทศไทยมีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราวปี พศ.2423 ในสมัยรัชการที่ 5 และมีการนำเข้าจากต่างประเทศมากมายจนถึงปัจจุบัน พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศเนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทยแล้วยังเกิดการกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย  **

แหล่งที่มา : ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกสุพรรณิการ์

By : FreezyXD



    ดอกสุพรรณิการ์ หรือ ดอกฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย,
สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานีและต้นสุพรรณิการ์เป็นต้นไม้พระราชทานจาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยให้ความหมายของดอกสุพรรณิการ์ ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ ความสูงค่า 
นอกจากดอกสุพรรณิการ์ จะเป็นไม้ประดับแล้ว ยังมีประโยชน์ในอีกหลายๆ
ด้าน และมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย


    ดอกสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ 
แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง 
บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลม
เมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย 
ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดใน
อินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่า
ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ 
เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว 


แหล่งที่มา : ดอกสุพรรณิการ์

- Copyright © Suwannaram Edited by Thitiphat Kunrong -